เยื่อไผ่ ทำไรได้บ้าง

สุดยอด เยื่อไผ่

เสื้อผ้าจากเส้นใยไผ่ที่มีความนิ่ม ทนทาน ยืดหยุ่น ดูนุ่มนวลและเงางามคล้ายผ้าไหม สามารถซับเหงื่อทำให้สวมใส่สบาย ดูดซับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (UV) รวมถึงฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้


ไม่ เพียงแต่ไม้ไผ่จะเป็นพืชสารพัดประโยชน์ ที่เราสามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลายในปัจจัย  4 ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ที่อยู่อาศัย (ใช้ก่อสร้าง ใช้ในงานประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้) ยารักษาโรคเท่านั้น ล่าสุดนักวิจัยก็สามารถพัฒนา เครื่องนุ่งห่ม จากไม้ไผ้ให้มีคุณสมบัติแสนพิเศษได้อีกด้วย


นาย Subhash Appidi และนาย Ajoy Sarkar จาก Colorado State University ได้จุ่มผ้าลงไปในน้ำยาไทโนซาน (Tinosan) สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 80% และป้องกันการดูดซึมรังสี UV ได้ที่ระดับ “ultraviolet protection factor” (UPF) ที่ 56 ซึ่งโดยปกติ UPF ที่ระดับ 50 ก็สามารถป้องกันอันตรายจากรังสี UV ได้

จากการทดสอบเบื้องต้น เนื้อผ้าที่ได้นั้นยังคงคงคุณสมบัติในการป้องกันแบคทีเรียและรังสี UV อยู่ เมื่อผ่านการซัก


ถึง กระนั้น เจ้าของผลงานก็เปิดเผยว่า ผ้าจากเส้นใยไผ่นั้น ยังมีช่องว่างที่รอการพัฒนาอยู่มาก เนื่องจากวัสดุจากธรรมชาตินั้นดูดซึมความชื้นได้ดีกว่าวัสดุสังเคราะห์ ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ผ้าเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ง่าย ส่วนเส้นใยไผ่ดิบ (ที่ไม่ผ่านการเคลือบสารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย) นั้นไม่ป้องกันรังสี UV และแม้น้ำยาไทโนซานจะช่วยได้ฆ่าเชื้อได้ 75-80 % แต่ทีมงานก็ยังได้มุ่งหน้าเพื่อหาสารที่สามารถฆ่าเชื้อและป้องกันรังสี UV ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ คือ 99 -100% เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้ในทางการแพทย์


จุดเด่นของผ้าจากเยื่อ ไผ่นี้คือ ผ้าที่ได้มาจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ปลูกง่าย โตเร็ว กำลังได้รับความนิยม และที่สำคัญคือไม่มีการใช้สารฆ่าแมลงในแปลงปลูกอีกด้วย


ใน ปัจจุบัน ผ้าจากเยื่อไผ่เป็นที่รู้จักและมีจำหน่ายในประเทศแถบเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ โดยทั่วไป แต่การพัฒนาให้ผ้าจากเยื่อไผ่ให้มีคุณสมบัติพิเศษดังกล่าวนั้นก็นับเป็นนวัต กรรมด้านเสื้อผ้าและสิ่งทอ ที่อาจจะเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคและอาจเป็นก้าว ใหม่ของเสื้อผ้าที่จะถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์


ทั้งคู่ได้รายงานผลการวิจัยและพัฒนาในการประชุม American Chemical Society ครั้งที่ 235 ในประเทศอเมริกา เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา


ต้นไผ่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนและมีคุณประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะช่วยทำให้

อากาศบริสุทธิ์ ว่ากันว่าป่าไผ่มีความหนาแน่นสูงทำให้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

และปล่อยก๊าซออกซิเจนกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมได้สูงกว่าต้นไม้ชนิดอื่นถึง ร้อยละ 30 สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งสูงได้หลายฟุตภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง จึงทำให้สามารถ

เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอด ใช้น้ำและพลังงานในการปลูกน้อย อีกทั้งไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีอื่นใด เนื่องจากไผ่มีสารป้องกันแบคทีเรียตามธรรมชาติอยู่แล้ว รากไผ่ยังช่วยฟื้นฟูสภาพดินและขจัดสารพิษในดิน และสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้
โดยทั่วไปมักนำไผ่มาทำอาหาร เฟอร์นิเจอร์ งานก่อสร้าง กระดาษ บรรจุภัณฑ์ และการขนส่ง แต่เมื่อปี ค.ศ. 2002 นักวิทยาศาสตร์จาก Beijing University ได้ค้นพบวิธีการผลิตเส้นใยจากไผ่ และตั้งแต่นั้นมาได้มีการพัฒนาเทคนิควิธีการผลิตให้ได้เส้นใยที่มีคุณภาพ ชั้นนำ ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ในเวลาต่อมา
การพัฒนาเป็นสิ่งทอ
ผ้าที่ได้จากต้นไผ่ถือเป็นสิ่งทอที่ได้จากธรรมชาติเพราะทำจากส่วนที่เป็น เนื้อไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่นำมาทำเส้นใยนั้นจะเป็นพันธุ์โมโซ (Moso bamboo) ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับที่หมีแพนด้ากินและสามารถปลูกเลี้ยงได้ง่าย ทำให้ไม่จำเป็นต้องบุกทำลายป่าเพื่อนำไม้ออกมาใช้

ต้นไผ่พันธุ์โมโซ
การเปลี่ยนสภาพจากต้นไผ่ให้กลายเป็นผ้าทอนั้นมีหลายวิธีที่แตกต่างกัน วิธีทางกลคือวิธีที่บดไม้ไผ่ให้เป็นเยื่อไม้นั้นเป็นวิธีที่อันตรายน้อยที่ สุดแต่ทว่าแพงที่สุด ส่วนวิธีทางเคมีนั้น บางวิธีก็เป็นภัยที่คุกคามสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากตลาดเสื้อผ้าเส้นใยจากไม้ไผ่กำลังเติบโตและผู้บริโภคนิยม ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ผลิตหลายรายจึงเลือกใช้วิธีการทำเส้นใยไม้ไผ่ที่ได้รับการรับรอง ว่าปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เช่น วิธีไลโอเซลล์* (lyocell process) หรือวิธีที่ใช้สารเคมีที่ปลอดภัยกว่าเดิม เช่น กรดอะซิติก (acetic acid) เป็นต้น


ลักษณะของเส้นใยไม้ไผ่
สมบัติที่โดดเด่น

เส้นใยที่พร้อมสำหรับทอ
ผ้าจากเส้นใยไม้ไผ่นิยมนำไปใช้ตัดเสื้อเชิ้ต กางเกงสแลกส์ (slacks) เสื้อชุดของสุภาพสตรี ถุงเท้าและชุดสำหรับออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังนิยมนำมาทำปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนอีกด้วย เนื่องจากมีสมบัติที่โดดเด่นดังต่อไปนี้


ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยไม้ไผ่ ได้แก่ ผ้าคลุมเตียง ผ้าขนหนู และ ถุงเท้า

  • ให้สัมผัสที่นุ่มสบายกว่าผ้าที่ทำจากเส้นใยฝ้าย อีกทั้งยังมีความมันคล้ายกับเส้นใยไหมและขนแคชเมียร์ แต่มีราคาที่ถูกกว่า ทนทานกว่า และดูแลรักษาได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ เมื่อนำเส้นใยไม้ไผ่ไปผสมกับเส้นใยฝ้ายที่ได้จากเกษตรอินทรีย์จะเพิ่มสมบัติ ความอ่อนนุ่มยิ่งขึ้นไปอีกและมีน้ำหนักดี โดยทั่วไปมักผสมเส้นใยฝ้ายเพียงร้อยละ 30
  • ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังของผู้สวมใส่เนื่องจากเส้นใยของไม้ไผ่จะเรียบ ลื่น จึงเหมาะสมอย่างมากสำหรับผู้ที่ผิวหนังแพ้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตเส้นใยด้วยว่าได้เลือกกรรมวิธีการผลิตที่ใช้ สารเคมีน้อยและมีมาตรฐานรองรับหรือไม่

ลักษณะของเส้นใย
  • ปรับอุณหภูมิได้เหมาะสมกับสภาพอากาศ กล่าวคือ ในวันที่อากาศร้อนผู้สวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย แต่ในวันที่อากาศหนาวเย็นก็จะรู้สึกอบอุ่นกว่าผ้าที่ทำจากเส้นใยชนิดอื่น ประมาณ 2-3 องศาเซลเซียส
  • ดูดซับความชื้นและระบายอากาศได้เป็นอย่างดี หากดูที่ภาพตัดขวางของเส้นใยจะพบว่ามีรูพรุนจำนวนมากมาย ซึ่งรูพรุนเหล่านี้จะช่วยให้เส้นใยสามารถดูดซับความชื้นและระเหยความชื้นนี้ ออกไปอย่างรวดเร็ว หากเปรียบเทียบกับเส้นใยฝ้ายจะสามารถดูดซับได้ดีกว่าถึง 3-4 เท่า ทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายตัวในวันที่อากาศร้อน

ภาพตัดขวางของเส้นใยไม้ไผ่พบว่ามีรูพรุนจำนวนมาก
  • ป้องกันแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เนื่องจากในเส้นใยของไม้ไผ่จะมีสารที่ต้านฤทธิ์ของแบคทีเรีย (bamboo kun) อยู่ สารนี้จะป้องกันไม่ให้แบคทีเรียฝังตัวและเจริญเติบโตบนเสื้อผ้าได้ ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งได้ทดลองซักผ้าจากเส้นใยไม้ไผ่จำนวน 100 ครั้ง พบว่าไม่มีความเปลี่ยนแปลงในประสิทธิภาพการป้องกันแบคทีเรีย
  • ไม่ต้องรีดก่อนสวมใส่ เพราะผ้าชนิดนี้ไม่ยับย่นง่าย
  • ป้องกันผู้สวมใส่จากแสงยูวี
การดูแลรักษา
โดยปกติสามารถซักผ้าจากเส้นใยไม้ไผ่โดยใช้เครื่องซักผ้าและน้ำเย็นได้ เพียงแต่ต้องใช้สบู่อย่างอ่อนและใช้โปรแกรมการซักแบบถนอมผ้า ผู้ผลิตมักไม่นิยมให้ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มและสารฟอกสี เมื่อซักเสร็จสามารถแขวนและตากให้แห้งได้เลย เนื่องจากผ้าจากเส้นใยนี้จะแห้งเร็วกว่าเส้นใยชนิดอื่นอยู่แล้ว และด้วยสมบัติไม่ยับย่นง่าย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องรีดก่อนใส่ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม มักมีการนำเส้นใยไม้ไผ่มาผสมกับเส้นใยชนิดอื่น เช่น ฝ้าย ไลครา (Lycra) สแปนเด็กซ์ (spandex) โพลิเอสเทอร์ (polyester) เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นควรทำความเข้าใจข้อมูลต่างๆ จากผู้ผลิตก่อน
ทางเลือกใหม่
เส้นใยบางชนิดแม้จะได้จากธรรมชาติ เช่น เส้นใยฝ้าย ต้นไม้หรือขนสัตว์ แต่ก็ไม่อาจเชื่อได้ว่าเป็นมิตรและไร้ซึ่งพิษภัยใดๆ ได้ เช่น การปลูกฝ้ายเพื่อนำมาปั่นเป็นเส้นใยนั้น บางครั้งมีการใช้สารเคมีอันตรายเพื่อใช้ในการกำจัดแมลงและวัชพืชจำนวนมาก หรือต้นไผ่แม้จะไม่ใช้สารเคมีในขั้นตอนการปลูก แต่หากในขั้นตอนการเตรียมเส้นใยมีการใช้สารฟอกและสารเคมีรุนแรงชนิดอื่นก็ อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน
สำหรับเส้นใยสังเคราะห์นั้นต้องใช้ปิโตรเลียมเป็นวัตถุดิบ เช่น เส้นใยโพลิเอสเทอร์ ซึ่งทำจากโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ที่ถูกดึงให้เป็นเส้นบางๆ และนำมาทอเป็นผืนนั้น ในปัจจุบันเป็นที่ทราบว่าทั่วโลกกำลังประสบกับวิกฤตการณ์น้ำมัน ดังนั้นหากมีหนทางใดที่ลดการพึ่งพาน้ำมัน อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ
เอกสารอ้างอิง

  1. http://eartheasy.com/wear_bamboo_clothing.htm
  2. http://geofeat.com/resources/clothing_footwear/articles/1063
  3. http://www.sciencenewsforkids.org/articles/20061220/Feature1.asp
  4. http://www.wisegeek.com/what-is-bamboo-fabric.htm

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่นำมาบอกกล่าวกัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
2012 ผลิตภัณฑ์ไผ่ เยื่อไผ่ สินค้าจากไผ่ พื้นไม้ไผ่ | Blogger Templates for HostGator Coupon Code Sponsors: WooThemes Coupon Code, Rockable Press Discount Code